Flashy Stars
html video backgroundHtml Codes

วันศุกร์ที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

การทำแผนพับ

การทำแผนพับ

การเรียกใช้โปรแกรม Microsoft Publisher 2003
การเรียกใช้งานโปรแกรมมีลักษณะคล้ายๆ กับการเรียกใช้งานโปรแกรมทั่วๆไป
คือ คลิกปุ่มคำสั่ง Start -> Program -> Microsoft Office -> Microsoft Office Publisher 2003
ส่วนประกอบของโปรแกรม Microsoft Publisher
Title Barแสดงชื่อโปรแกรม, ชื่อไฟล์
 Control Button ปุ่มควบคุมหน้าต่างโปรแกรม ประกอบด้วยปุ่ม   Minimize, Maximize/Restore, Close
➤Menu Bar แถบเมนูควบคุมคำสั่งการทำงานของโปรแกรม
 ➤Toolbars แถบเครื่องมือใช้งานหลัก
 ➤Ruler Bar แถบไม้บรรทัด
 ➤Objects Toolbar แถบเครื่องมือจัดการกับวัตถุ
 ➤Task Pane บานหน้าต่างงาน
➤ Page หน้าเอกสารงาน
 ➤Work Area พื้นที่ทำงาน
➤Scroll Bar แถบเลื่อนดูงาน
การสร้างแผ่นพับด้วย Microsoft Publisher
Start>Programs>Microsoft Office> Microsoft Publisher
ให้เลือกไปที่ Publications for Print แล้วเลือกไปที่ Brochures ซึ่งจะมีรูปแบบให้เราเลือกมากมายแบ่งออกเป็นหมวดหมู่ เช่น Information, Event, Price List ในที่นี้จะเลือกในส่วนของ Information มาใช้งาน เมื่อเลือกแล้วจะปรากฏ Template มากมายให้เราเลือกใช้ หากต้องการเลือกแบบไหนให้คลิกที่แบบนั้น
เมื่อเลือกรูปแบบได้แล้วให้เราคลิกเลือกรูปแบบนั้นเพื่อสร้างเอกสารตามรูปแบบ Template ที่เราได้เลือกไว้
ซึ่งจะมีลักษณะดังรูป
แผ่นพับที่ได้สร้างขึ้นมานั้น จะมี 2 หน้าซึ่งเราสามารถสลับระหว่างด้านหน้ากับด้านหลังได้
เมื่อต้องการที่จะใส่ข้อความลงไปในแผ่นพับของเรา ก็เพียงแต่เอาเมาส์ไปคลิกตำแหน่งที่ต้องการที่จะใส่ข้อความ    จากนั้นก็พิมพ์แทนที่ข้อความเก่าใน Template ได้เลย และสามารถปรับแต่งข้อความได้ ไม่ว่าจะเป็น สี รูปแบบตัวอักษร ย่อหน้า การจัดคำ ซึ่งปรับแต่งได้ตามใจและมีวิธีการปรับเหมือนกับใน Word นั่นเอง
คลิกเพื่อพิมพ์ข้อความที่ต้องการลงไป
การใส่รูปภาพให้กับแผ่นพับ
เราสามารถที่จะใส่รูปภาพต่างๆ ลงไปในแผ่นพับ เพื่อเป็นการเพิ่มความน่าสนใจในแผ่นพับของเราได้ โดยเลือกที่ Insert>Picture>From File… แล้วเลือกรูปภาพที่ต้องการ หรือถ้าหากต้องการที่จะเปลี่ยนรูปภาพที่มีอยู่ใน Template ก็สามารถทำได้เช่นกัน โดยคลิกเลือกรูปภาพที่ต้องการเปลี่ยนก่อน แล้วเลือกที่ปุ่ม Insert Picture ที่อยู่บนแถบเมนูรูปภาพเลือกรูปภาพที่ต้องการเปลี่ยน ดังรูป
การ Save แผ่นพับที่ทำเสร็จแล้ว
เมื่อเราสร้างแผ่นพับของเราเรียบร้อยแล้ว เรื่องสำคัญที่ลืมไปไม่ได้นั่นคือการ Save แผ่นพับของเราเพื่อไว้ใช้งานในครั้งต่อไปนั่นเอง ซึ่งทำได้โดยไปที่ File>Save As…
เลือก Save As…จากนั้นตั้งชื่อไฟล์ที่ต้องการ แล้วคลิก save ดังรูป
เมื่อ Save เรียบร้อยแล้ว ก็ Print ออกมาและพับให้เรียบร้อย เพียงเท่านี้ก็จะได้แผ่นพับสวยๆ ไปใช้งานในโอกาสต่างๆ ด้วยวิธีที่แสนจะง่ายดายแล้ว
สรุป....
โปรแกรมที่เหมาะสมกับการทำแผนพับคือโปรแกรม Microsoft Publisher
เพราะPublisher เป็นโปรแกรมที่ช่วยสร้างสิ่งพิมพ์ที่มีลักษณะการใช้งานได้ง่ายและรวดเร็วในการสร้างสื่อสิ่งพิมพ์ อย่างมืออาชีพ ด้วย Publisher มีความสามารถในการสร้าง การออกแบบ และจัดท าเอกสารการตลาด ทางการ สื่อสารแบบมืออาชีพ ส าหรับงานพิมพ์ และการท าจดหมายเวียนหรือจดหมายเวียนอิเล็กทรอนิกส์

วันพฤหัสบดีที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

ความหมายของซอฟต์แวร์

ซอฟต์แวร์ 



 หมายถึง ชุดคำสั่งหรือโปรแกรม  ที่เขียนขึ้นอย่างเป็นลำดับขั้นตอนจากภาษาคอมพิวเตอร์ เพื่อสั่งให้คอมพิวเตอร์ทำงาน ตามที่ผู้ใช้ต้องการ ซอฟต์แวร์จึงทำหน้าที่เปรียบเสมือนผู้แปลภาษาหรือตัวกลางเพื่อให้ผู้ใช้สื่อสารกับคอมพิวเตอร์ในส่วนที่เป็นฮาร์ดแวร์ได้



สรุป ซอฟต์แวร์ คือชุดคำสั่งที่เขียนขึ้นอย่างเป็นลำดับขั้นตอนจากภาษาคอมพิวเตอร์สั่งให้คอมพิวเตอร์ทำงาน ตามที่ผู้ใช้ต้องการ


อ้างอิง.....หนังสือเทคโนโลยีสารสนเทศ ม.2 หน้า 83

สัญลักษณ์Flowchart

สัญลักษณ์ Flowchart คือ รูปภาพที่ใช้แทนความหมายการทำงานในลักษณะต่างๆ ภายในผังงาน (Flowchart) ประกอบไปด้วย การเริ่มต้น (Start), การจบ (End), การกระทำ (Process), การนำเข้าข้อมูล (Input), การแสดงผลข้อมูล (Output), การตัดสินใจ (Decision), คำอธิบาย (Annotation), จุดเชื่อมต่อ (Connector), ทิศทางการทำงาน (Direction Flow) 
สัญลักษณ์เหล่านี้เมื่อถูกนำมาเชื่อมต่อกัน จะกลายเป็น "ผังงาน (Flowchart)" ที่แสดงลำดับขั้นตอนการทำงานเพื่อ
  • เป็นเครื่องมือในการจัดลำดับความคิด
  • เห็นลำดับขั้นตอนการทำงานที่ชัดเจน

สัญลักษณ์ Flowchart (ผังงาน)



วิธีใช้เขียนผังงาน

หลักการนำสัญลักษณ์ Flowchart ต่างๆ มาเขียนผังงาน
  1. ผังงาน (Flowchart) ต้องมีจุดเริ่มต้น (Start) และจุดสิ้นสุด (End)
  2. สัญลักษณ์แต่ละรูปจะถูกเชื่อมต่อด้วยทิศทางการทำงาน (Direction Flow) เพื่อบอกว่าเมื่อทำงานนี้เสร็จต้องไปทำงานไหนต่อไป
  3. การทำงานจะต้องเริ่มต้นที่จุดเริ่มต้น (Start) และจบที่จุดสิ้นสุด (End) เท่านั้น
สรุป  สัญลักษณ์ Flowchart คือ รูปภาพที่ใช้แทนความหมายการทำงานในลักษณะต่างๆ ภายในผังงาน ซึ่งจะมีการกำหนดรูปแบบของสัญลักษณ์ที่ใช้กับFlowchart ตามรูปแบบการใช้งาน
อ้างอิง........http://share.olanlab.com/th/it/blog/view/211

ภาษาคอมพิวเตอร์

ภาษาคอมพิวเตอร์ 

มี 3 ระดับ คือ

1. ภาษาระดับต่ำ (Low Level Language) เป็นภาษาที่มนุษย์ทำความเข้าใจได้ยาก ส่วนใหญ่ต้องมีความเข้าใจเกี่ยวกับสถาปัตยกรรมคอมพิวเตอร์ และฮาร์ดแวร์เป็นอย่างดีจึงจะสามารถ
เขียนโปรแกรมสั่งงานได้มีข้อดีในส่วนที่เขียนโปรแกรมควบคุมอาร์ดาแวร์แต่ละส่วนได้โดยตรงจึงทำงานได้เร็ว แต่ไม่เหมาะที่จะใช้ในการพัฒนาโปรแกรม ตัวอย่างของภาษาระดับต่ำได้แก่ ภาษาเครื่อง (Machine Language) และภาษาแอสเซมบลี (Assembly Language)เป็นต้น


  2. ภาษาระดับกลาง (Medium Level Language) เป็นภาษาที่ทำความเข้าใจได้ไม่ยากนัก เพราะมีลักษณะ เป็นภาษาแบบโครงสร้าง ทำความเข้าใจได้เหมือนกับภาษาระดับสูงแต่ทำงานได้รวดเร็ว เหมือนกับภาษาระดับต่ำ สามารถใช้บนเครื่องที่มีความเร็วต่างกันโดยไม่ต้องดัดแปลง ภาษาระดับกลางจึงเป็นที่นิยมใช้กันแพร่หลาย ตัวอย่างของภาษาระดับกลาง ได้แก่ ภาษาซี เป็นต้น


  3.ภาษาระดับสูง (High Level Language) เป็นภาษาที่ทำความเข้าใจได้ง่าย มีลักษณะของ
การใช้คำสั่งเป็นภาษาอังกฤษซึ่งใกล้เคียงกับภาษามนุษย์มากการสั่งให้คอมพิวเตอร์ทำงานจะต้องมีการแปลความหมายของคำสั่งโดยใช้ตัวแปลภาษาทีละชุดคำสั่งที่เรียกว่า Interpreterหรือแปลครั้งเดียวทั้งโปรแกรมที่เรียกว่า Compiler


สรุป ภาษาคอมพิวเตอร์ มี 3 ระดับได้แก่
1. ภาษาระดับต่ำ    เป็นภาษาที่มนุษย์ทำความเข้าใจได้ยาก ต้องมีความเข้าใจเกี่ยวกับสถาปัตยกรรมคอมพิวเตอร์ และฮาร์ดแวร์เป็นอย่างดีจึงจะสามารถ
เขียนโปรแกรมสั่งงานได้ ตัวอย่างได้แก่ ภาษาเครื่อง และภาษาแอสเซมบลี

  2. ภาษาระดับกลาง มีลักษณะ เป็นภาษาแบบโครงสร้าง ทำความเข้าใจได้เหมือนกับภาษาระดับสูงแต่ทำงานได้รวดเร็ว เหมือนกับภาษาระดับต่ำ เป็นที่นิยมใช้กันแพร่หลาย ตัวอย่างของภาษาระดับกลาง ได้แก่ ภาษาซี 


  3.ภาษาระดับสูง  เป็นภาษาที่ทำความเข้าใจได้ง่าย มีลักษณะของ
การใช้คำสั่งเป็นภาษาอังกฤษซึ่งใกล้เคียงกับภาษามนุษย์ ช้ตัวแปลภาษาทีละชุดคำสั่งที่เรียกว่า Interpreterหรือแปลครั้งเดียวทั้งโปรแกรมที่เรียกว่า Compiler

 อ้างอิง......http://boonraong.blogspot.com/2011/02/3.html

ประเภทของซอฟต์แวร์

ประเภทของซอฟต์แวร์

ใน บรรดาซอฟต์แวร์หรือโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่มีผู้พัฒนาขึ้นเพื่อใช้งานกับ คอมพิวเตอร์มีมากมาย ซอฟต์แวร์เหล่านี้อาจได้รับการพัฒนาโดยผู้ใช้งานเอง หรือผู้พัฒนาระบบ หรือผู้ผลิตจำหน่าย หากแบ่งแยกชนิดของซอฟต์แวร์ตามสภาพการทำงาน โดยทั่วไปแล้วซอฟต์แวร์แบ่งได้ 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ ซอฟต์แวร์ระบบ (System Software) ซอฟต์แวร์ประยุกต์ (Application Software) โดยมีรายละเอียดของซอฟต์แวร์แต่ละประเภทดังนี้


1. ซอฟต์แวร์ระบบ (System Software)
ซอฟท์แวร์ ระบบเป็นโปรแกรมที่บริษัทผู้ผลิตสร้างขึ้นมาเพื่อใช้จัดการกับระบบ หน้าที่การทำงานของซอฟต์แวร์ระบบ คือ ดำเนินงานพื้นฐานต่าง ๆ ของระบบคอมพิวเตอร์ เช่น รับข้อมูลจากแผงแป้นอักขระแล้วแปลความหมายให้คอมพิวเตอร์เข้าใจ นำข้อมูลไปแสดงผลบนจอภาพหรือนำออกไปยังเครื่องพิมพ์ จัดการข้อมูลในระบบแฟ้มข้อมูลบนหน่วยความจำรอง
เมื่อ เราเปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ ทันทีที่มีการจ่ายกระแสไฟฟ้าให้กับคอมพิวเตอร์ คอมพิวเตอร์จะทำงานตามโปรแกรมทันที โปรแกรมแรกที่สั่งคอมพิวเตอร์ทำงานนี้เป็นซอฟต์แวร์ระบบ ซอฟต์แวร์ระบบอาจเก็บไว้ในรอม หรือในแผ่นจานแม่เหล็ก หากไม่มีซอฟต์แวร์ระบบ คอมพิวเตอร์จะทำงานไม่ได้ นอกจากนี้ซอฟต์แวร์ระบบยังใช้เป็นเครื่องมือในการพัฒนาซอฟต์แวร์อื่น ๆ และยังรวมไปถึงซอฟต์แวร์ที่ใช้ในการแปลภาษาต่าง ๆ
ซอฟท์แวร์ระบบจึงทำหน้าที่เป็นตัวกลางเชื่อมต่อระหว่างฮาร์ดแวร์และโปรแกรมประยุกต์  ใช้ในการควบคุมดูแลการทำงานทั้งหมดของระบบคอมพิวเตอร์  ขณะ ที่เรากำลังใช้โปรแกรมประยุกต์อยู่ซอฟต์แวร์ระบบจะควบคุมการทำงานของอุปกรณ์ คอมพิวเตอร์ทั้งหมดอย่างต่อเนื่อง ซึ่งซอฟท์แวร์ระบบมีลักษณะแตกต่างกันดังนี้ 
1.1 ระบบปฏิบัติการ (Operating Software หรือ OS) เป็นซอฟต์แวร์ที่ควบคุมกิจกรรม
                  ทั้งหมดของคอมพิวเตอร์  เพื่อให้มั่นใจว่าอุปกรณ์ที่เป็นฮาร์ดแวร์ทุกส่วนของระบบคอมพิวเตอร์ทำงานร่วมกันได้อย่างราบรื่นและมีประสิทธิภาพซอฟท์แวร์ระบบปฏิบัติการใช้ในการบริหารจัดการข้อมูลและทำแฟ้มข้อมูลภายในเครื่องคอมพิวเตอร์  เช่น  การสำเนาข้อมูล (copy)  การเรียงลำดับ (sort)  การลบ (delete) และอื่น ๆ นอกจากนั้นยังใช้ในการดำเนินงานของโปรแกรมประยุกต์ด้วย  โปรแกรมที่พัฒนาจากระบบปฏิบัติการที่ต่างกันจะนำมาใช้ร่วมกันไม่ได้
ระบบปฏิบัติการที่นิยมใช้มากที่สุดในขณะนี้ คือ
1)  ระบบปฏิบัติการดอส(DOS)
  2) ระบบ ปฏิบัติการแบบวินโดวส์
 3)  ระบบปฏิบัติการยูนิกส์ (UNIX
 4)  ระบบปฏิบัติการแมค (MAC OS)   
                   1.2  ตัวแปลภาษาในการพัฒนาซอฟต์แวร์จำเป็นต้องมีซอฟต์แวร์ที่ใช้ในการแปลภาษาระดับสูง เพื่อแปลภาษาระดับสูงให้เป็นภาษาเครื่อง ภาษาระดับสูงมีหลายภาษา ภาษาระดับสูงเหล่านี้สร้างขึ้นเพื่อให้ผู้เขียนโปรแกรมเขียนชุดคำสั่งได้ง่าย เข้าใจได้ ตลอดจนถึงสามารถปรับปรุงแก้ไขซอฟต์แวร์ในภายหลังได้
                    ภาษาระดับสูงที่พัฒนาขึ้นมาทุกภาษาจะต้องมีตัวแปลภาษาสำหรับแปลภาษา ภาษาระดับสูงซึ่งเป็นที่รู้จักและนิยมกันมากในปัจจุบัน เช่น ภาษาปาสคาล ภาษาเบสิก ภาษาซี และภาษาโลโก 
                    1) ภาษาปาสคาล เป็นภาษาสั่งงานคอมพิวเตอร์ที่มีรูปแบบเป็นโครงสร้าง เขียน 

สั่งงานคอมพิวเตอร์เป็นกระบวนความ ผู้เขียนสามารถแบ่งแยกงานออกเป็นชิ้นเล็ก ๆ แล้วมารวมกันเป็นโปรแกรมขนาดใหญ่ได้
                    2) ภาษาเบสิก เป็นภาษาที่มีรูปแบบคำสั่งไม่ยุ่งยาก สามารถเรียนรู้และเข้าใจได้ง่ายมีรูปแบบคำสั่งพื้นฐานที่สามารถนำมาเขียนเรียงต่อกันเป็นโปรแกรมได้                    
                    3) ภาษาซี เป็นภาษาที่เหมาะสำหรับใช้ในการพัฒนาซอฟต์แวร์อื่น ๆ ภาษาซีเป็นภาษาที่มีโครงสร้างคล่องตัวสำหรับการเขียนโปรแกรมหรือให้คอมพิวเตอร์ติดต่อกับอุปกรณ์ต่าง ๆ
                     4) ภาษาโลโก เป็นภาษาที่เหมาะสำหรับการเรียนรู้และเข้าใจหลักการโปรแกรมภาษาโลโกได้รับการพัฒนาสำหรับเด็ก 
                     นอกจากภาษาที่กล่าวถึงแล้ว ยังมีภาษาคอมพิวเตอร์ที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบันอีกมากมายหลายภาษา เช่น ภาษาฟอร์แทรน ภาษาโคบอล ภาษาอาร์พีจี
   2.  ซอฟต์แวร์ประยุกต์ (Application Software)   
                    ซอฟต์แวร์ประยุกต์เป็นโปรแกรมที่ออกแบบมาเพื่อการใช้งานเฉพาะเรื่องตามที่เราต้องการ เช่น  งานพิมพ์เอกสาร  งานพิมพ์รายงาน  วาดภาพ  เล่นเกม  หรือโปรแกรมระบบบัญชี  รายรับรายจ่าย และเงินเดือน  โปรแกรมอินเทอร์เน็ตเอ็กซ์พลอเรอร์  ใช้เพื่อการสืบค้นข้อมูลและเชื่อมโยง  กับระบบอินเทอร์เน็ตก็ได้  เน้นการใช้งานสะดวก
                     2.1  ซอฟต์แวร์สำเร็จ ในบรรดาซอฟต์แวร์ประยุกต์ที่มีใช้กันทั่วไป ซอฟต์แวร์สำเร็จ (package) เป็นซอฟต์แวร์ที่มีความนิยมใช้กันสูงมาก ซอฟต์แวร์สำเร็จเป็นซอฟต์แวร์ที่บริษัทพัฒนาขึ้น แล้วนำออกมาจำหน่าย เพื่อให้ผู้ใช้งานซื้อไปใช้ได้โดยตรง ไม่ต้องเสียเวลาในการพัฒนาซอฟต์แวร์อีก
                     2.2 ซอฟต์แวร์ใช้งานเฉพาะ เป็นโปรแกรมที่ทำหน้าที่ช่วยในการทำงานของระบบคอมพิวเตอร์ในหน้าที่เฉพาะด้านบางอย่าง เช่น การตรวจหาและกำจัดไวรัสคอมพิวเตอร์ การจัด เรียงข้อมูลในฮาร์ดดิสก์ เป็นต้น


การประยุกต์ใช้งานด้วยซอฟต์แวร์สำเร็จมักจะเน้นการใช้งานทั่วไป แต่อาจจะนำมาประยุกต์โดยตรงกับงานทางธุรกิจบางอย่างไม่ได้ เช่นในกิจการธนาคาร มีการฝากถอนเงิน งานทางด้านบัญชี หรือในห้างสรรพสินค้าก็มีงานการขายสินค้า การออกใบเสร็จรับเงิน การควบคุมสินค้าคงคลัง ดังนั้นจึงต้องมีการพัฒนาซอฟต์แวร์ใช้งานเฉพาะสำหรับงานแต่ละประเภท ให้ตรงกับความต้องการของผู้ใช้แต่ละราย ซอฟต์แวร์ใช้งานเฉพาะมักเป็นซอฟต์แวร์ที่ผู้พัฒนาต้องเข้าไปศึกษารูปแบบการทำงานหรือความต้องการของธุรกิจนั้น ๆ แล้วจัดทำขึ้น โดยทั่วไปจะเป็นซอฟต์แวร์ที่มีหลายส่วนรวมกันเพื่อร่วมกันทำงาน ซอฟต์แวร์ใช้งานเฉพาะที่ใช้กันในทางธุรกิจ เช่น ระบบงานทางด้านบัญชี ระบบงานจัดจำหน่าย ระบบงานในโรงงานอุตสาหกรรม บริหารการเงิน และการเช่าซื้อ   ความต้องการของการใช้คอมพิวเตอร์ในงานทางธุรกิจยังมีอีกมาก ดังนั้นจึงต้องมีความต้องการผู้พัฒนาซอฟต์แวร์เพื่อพัฒนาซอฟต์แวร์ใช้งานเฉพาะต่าง ๆ อีกมากมาย

 สรุป ซอฟต์แวร์ มี2 ประเภท คือ 
1. ซอฟต์แวร์ระบบ (System Software) ซอฟท์แวร์ระบบจึงทำหน้าที่เป็นตัวกลางเชื่อมต่อระหว่างฮาร์ดแวร์และโปรแกรมประยุกต์  ใช้ในการควบคุมดูแลการทำงานทั้งหมดของระบบคอมพิวเตอร์ แบ่งเป็น
1.1   ระบบปฏิบัติการ (Operating Software หรือ OS) เป็นซอฟต์แวร์ที่ควบคุมกิจกรรม
1.2  ตัวแปลภาษาในการพัฒนาซอฟต์แวร์จำเป็นต้องมีซอฟต์แวร์ที่ใช้ในการแปลภาษา      ระดับสูง เพื่อแปลภาษาระดับสูงให้เป็นภาษาเครื่อง
 2.  ซอฟต์แวร์ประยุกต์ (Application Software)   
  ซอฟต์แวร์ประยุกต์เป็นโปรแกรมที่ออกแบบมาเพื่อการใช้งานเฉพาะเรื่องตามที่เราต้องการ  แบ่งเป็น
1.ซอฟต์แวร์สำเร็จ ในบรรดาซอฟต์แวร์ประยุกต์ที่มีใช้กันทั่วไป มีความนิยมใช้กันสูงมาก เป็นซอฟต์แวร์ที่บริษัทพัฒนาขึ้น แล้วนำออกมาจำหน่าย เพื่อให้ผู้ใช้งานซื้อไปใช้ได้โดยตรง
2.ซอฟต์แวร์ใช้งานเฉพาะเป็นโปรแกรมที่ทำหน้าที่ช่วยในการทำงานของระบบคอมพิวเตอร์ในหน้าที่เฉพาะด้านบางอย่าง


อ้างอิง........http://gangza-yui05.blogspot.com/p/blog-page.html
                   https://www.youtube.com/watch?v=zHpKxBgAwMg

ซอฟต์แวร์กราฟิก


ยกตัวอย่างผลงานที่สร้างจากซอฟต์แวร์กราฟิกมาอย่างน้อย3ประเภท

ซอฟต์แวร์กราฟิก คือ

 ซอฟต์แวร์ที่ใช้สำหรับสร้างงานและออกแบบภาพกราฟิกต่างๆ 
จะมีเครื่องมือช่วยที่มีลักษณะเลียนแบบอุปกรณ์สำหรับวาดภาพ ในการใช้งานนั้นผู้ใช้ควรมีความชำนาญในการใช้เครื่องมือและมีเทคนิควิธีทางศิลปะจงจะทำให้สามารถสร้างงานกราฟิกได้อย่างมีคุณภาพ ตัวอย่างซอฟต์แวร์กราฟิก เช่น Microsoft Paint,Adobe Photoshop,CorelDRAW

                ตัวอย่างผลงาน   
1.การออกแบบการ์ดต่างๆ

2.การแก้ไขรูปภาพต่างๆ

3.การสร้างภาพ 3 มิติ





อ้างอิง.......หนังสือเทคโนโลยีสารสนเทศ ม.2 หน้า 90

ซอฟต์แวร์เฉพาะงานคืออะไร มีข้อดีข้อเสียอย่างไร???

ซอฟต์แวร์เฉพาะงานคืออะไร มีข้อดีข้อเสียอย่างไร
               การประยุกต์ใช้งานด้วยซอฟต์แวร์สำเร็จมักจะเน้นการใช้งานทั่วไป แต่อาจจะนำมาประยุกต์โดยตรงกับงานทางธุรกิจบางอย่างไม่ได้ เช่นในกิจการธนาคาร มีการฝากถอนเงิน งานทางด้านบัญชี หรือในห้างสรรพสินค้าก็มีงานการขายสินค้า การออกใบเสร็จรับเงิน การควบคุมสินค้าคงคลัง ดังนั้นจึงต้องมีการพัฒนาซอฟต์แวร์ใช้งานเฉพาะสำหรับงานแต่ละประเภทให้ตรงกับความต้องการของผู้ใช้แต่ละราย   ซอฟต์แวร์ใช้งานเฉพาะมักเป็นซอฟต์แวร์ที่ผู้พัฒนาต้องเข้าไปศึกษารูปแบบการทำงานหรือความต้องการของธุรกิจนั้น ๆ แล้วจัดทำขึ้น โดยทั่วไปจะเป็นซอฟต์แวร์ที่มีหลายส่วนรวมกันเพื่อร่วมกันทำงาน ซอฟต์แวร์ใช้งานเฉพาะที่ใช้กันในทางธุรกิจ เช่น ระบบงานทางด้านบัญชี ระบบงานจัดจำหน่าย ระบบงานในโรงงานอุตสาหกรรม บริหารการเงิน และการเช่าซื้อ   ความต้องการของการใช้คอมพิวเตอร์ในงานทางธุรกิจยังมีอีกมาก ดังนั้นจึงต้องมีความต้องการผู้พัฒนาซอฟต์แวร์เพื่อพัฒนาซอฟต์แวร์ใช้งานเฉพาะต่าง ๆ อีกมากมายซอฟต์แวร์สำหรับงานเฉพาะด้าน  เป็นซอฟต์แวร์ที่ผลิตขึ้นมาเพื่อทำงานอย่างใด
อย่างหนึ่ง และไม่สามารถ ทำงานอื่นได้  เช่น โปรแกรมระบบบัญชี โปรแกรมเพื่องานออก
แบบ โปรแกรมช่วยงานอุตสาหกรรม เป็นต้น


1. โปรแกรมระบบบัญชี (Accounting) เช่น ระบบบัญชีเงินเดือน ลูกหนี้ ระบบเช่าซื้อ
บัญชี แยกประเภท
2. โปรแกรมช่วยงานอุตสาหกรรม CAM (Computer-Aided Manufactory
and Composition And Make-up)
 ซอฟต์แวร์ชนิดนี้ใช้สำหรับงานด้านอุตสาหกรรม
เป็นส่วนใหญ่ เช่น ใช้คอมพิวเตอร์ดูแลและควบคุมเครื่องจักรกลแทนคน หรืองานประเภท
ที่ต้องทำซ้ำๆ กัน ครั้งละมากๆ (Mass-production)
3. โปรแกรมช่วยในการเรียนการสอน CAI (Computer-Assisted Instruction)
โดยการใช้คอมพิวเตอร์ หรือจำลองตัวเองเป็นสื่อในการเรียนการสอนประกอบกับรูปภาพ
(เคลื่อนไหว) ในลักษณะต่างๆ ซึ่งทำให้ง่ายต่อความเข้าใจ
4. เกมส์ (Game) สำหรับผ่อนคลายหลังจากการใช้เครื่องแต่ส่วนใหญ่นิยมเล่นเพื่อความ
เพลิดเพลินกว่า   ตัวอย่างของเกมส์เหล่านี้ได้แก่ โปรแกรมเกมส์ต่างๆ ตามห้างสรรพสินค้า
(Arcade game)  เกมส์บนกระดาน  (Board game) เช่น หมากรุก โมโนโปลีฯลฯ เกมส์ไพ่
(Card) เกมส์เสมือนหรือจำลอง
5. โปรแกรมเพื่องานออกแบบหรือ CAD (Computer-Aidea Design) เช่น AutoCad
AutoLISP และ  DisgnCAD เป็นต้น โปรแกรมคอมพิวเตอร์ชนิดนี้ใช้สำหรับการออกแบบ
ผลิตภัณฑ์ชนิดต่างๆ และงานออกแบบทางด้านสถาปัตยกรรม
6. โปรแกรมตรวจสอบ/ป้องกันไวรัส (Anti-Virus) มีไว้เพื่อป้องกันการโจมตีของไวรัส
คอมพิวเตอร์ และมักจะมีคำสั่งให้ทำลายล้างไวรัสออกจากเครื่องคอมพิวเตอร์ เช่น McAfee
virus scan, AVI-scan, Norton Anti-virus เป็นต้น
7. โปรแกรมมัลติมีเดีย   (Multimedia)  เป็นซอฟต์แวร์ใช้สำหรับสร้างโปรแกรม CAI
หรือทำ Presentation หรือใช้สำหรับดูหนัง  ฟังเพลง  เช่น  Multimedia Toolbook, Xing
MPEG, Authorware, PowerDVDชนิดอื่นๆ เช่น ระบบธุรกิจต่างๆ งานทำดนตรีงานตัดต่อ
ภาพยนตร์ การวางแผนงาน งานศิลปะ  งานวาดรูป การประมาณการ วิเคราะห์  งานพัฒนา การบริหารโครงงาน

ข้อดี
1. ได้ระบบตรงตามความต้องการ 100% เพราะผู้พัฒนา ย่อมต้องทำโปรแกรม ตามที่ผู้ใช้ต้องการ โดยไม่มีเงื่อนไข
2. สามารถควบคุมปัจจัยต่างๆ ในการพัฒนาได้มากกว่า เช่น การเร่งเวลา การเพิ่มบุคคลากร การแก้ไขรายละเอียด (Specification) ของโปรแกรม และการรักษาความลับทางธุรกิจ เป็นต้น
ข้อเสีย
1. ต้นทุนในการพัฒนาจะสูง และควบคุมงบประมาณได้ยาก เพราะองค์กรต้องจ่ายเงินเดือนประจาให้โปรแกรมเมอร์ และต้องซื้อเครื่องไม้เครื่องมือ เพื่อการพัฒนาด้วยตนเอง แต่เพียงผู้เดียว ไม่อาจเฉลี่ยค่าใช้จ่าย ให้กับผู้อื่นได้ และมีความเสี่ยง หากทาเองแล้วไม่สาเร็จ
2. ค่าใช้จ่าย ในการบารุงรักษาโปรแกรม จะสูงแปรผันตามการลงทุน ในการพัฒนาโปรแกรม เพราะจะต้อง ว่าจ้างโปรแกรมเมอร์ ที่เขียนงานไว้เพื่อดูแลระบบต่อไป อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ซึ่งโดยปกติแล้ว กาลังงานที่ใช้ในการดูแล (Maintain) จะต้องน้อยกว่าขั้นตอนการพัฒนาเสมอ
3. องค์กรอาจถูกพนักงานโปรแกรมเมอร์ กลั่นแกล้งหรือต่อรอง กับองค์กร เพื่อประโยชน์ตนเอง ซึ่งองค์กร มักตกเป็นเบี้ยล่าง เพราะซอฟท์แวร์ ที่โปรแกรมเมอร์เขียนไว้ ไม่สามารถหาบุคคลอื่นมาดูแล หรือสานงานต่อได้ เมื่อโปรแกรมเมอร์ลาออก ก็ต้องทิ้งโปรแกรมตามไปด้วย หรือทนใช้ไป ท่ามกลางความเสี่ยง เหมือนยืนอยู่บนเส้นด้าย
4. องค์กรไม่อาจมุ่งทรัพยากรทั้งหมด เพื่อสร้างความเชี่ยวชาญเฉพาะ อุตสาหกรรม ที่ดาเนินการอยู่ได้อย่างแท้จริง เพราะต้องคอยมาบริหาร การพัฒนาโปรแกรม ควบคู่ไปด้วย ทั้งๆที่ไม่ใช่ความเชี่ยวชาญหลัก ขององค์กร
5. องค์กรมักตามไม่ทัน กับเทคโนโลยีด้าน IT ที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว เพราะบุคลากรภายใน ไม่ได้ถูกผลักดันจากภาวะการแข่งขัน ในการพัฒนาโปรแกรม กับองค์กรอื่น
6. บุคลากรหรือโปรแกรมเมอร์ ภายในองค์กร มักมีประสบการณ์ และความเชี่ยวชาญน้อยกว่า โปรแกรมเมอร์ จากบริษัท Software House หรือจากบริษัทผลิตโปรแกรมสาเร็จรูป เพราะบริษัทเหล่านั้น มีการถ่ายทอด แลกเปลี่ยนประสบการณ์กัน ระหว่าง Senior Programmers และ Junior Programmers ได้อย่างทั่วถึง และมีการพัฒนาโปรแกรม ตลอดเวลา เป็นระยะเวลานาน ทาให้มีความเชี่ยวชาญ เป็นมืออาชีพมากกว่า
7. เมื่อความต้องการขององค์กรเปลี่ยนไป ในอนาคตตามสภาพแวดล้อมทางธุรกิจ โปรแกรมที่พัฒนาไว้เดิม อาจไม่รองรับการเปลี่ยนแปลง หรือไม่มีความยืดหยุ่นพอ เพราะผู้ออกแบบโปรแกรม ไม่ได้เตรียมการไว้ล่วงหน้า ซึ่งอาจมีสาเหตุมาจากความไม่มีประสบการณ์ ความมักง่าย หรือความไม่รู้ หากโชคดีก็อาจจะพอแก้ไขกันได้ แต่หากโชคร้าย ก็ต้องพัฒนากันใหม่ เสียทั้งเงินทั้งเวลาอีกครั้ง

อ้างอิง.......https://preeya034.wordpress.com/%E0%B8%8B%E0%B8%AD%E0%B8%9F%E0%B8%95%E0%B9%8C%E0%B9%81%E0%B8%A7%E0%B8%A3%E0%B9%8C%E0%B9%83%E0%B8%8A%E0%B9%89%E0%B8%87%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%89%E0%B8%9E%E0%B8%B2%E0%B8%B0/
               https://sarun272.wordpress.com/assignment-erp/%E0%B8%82%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%94%E0%B8%B5%E0%B9%81%E0%B8%A5%E0%B8%B0%E0%B8%82%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B9%80%E0%B8%AA%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%8B%E0%B8%AD%E0%B8%9F%E0%B9%81/

เลขฐานสองเกี่ยวข้องอย่างไรกับซอฟต์แวร์??



เลขฐานสองเกี่ยวข้องอย่างไรกับซอฟต์แวร์


       1.)เลขฐานสอง 

              คือตัวเลขที่มีค่าไม่ซ้ำกันสองหลัก( และ 1) เป็นเลขฐานเดียวที่เข้ากันได้กับHardware ของเครื่องคอมพิวเตอร์ได้โดยตรง เพราะการใช้เลขฐานอื่นจะสร้างความยุ่งยากให้กับเครื่องคอมพิวเตอร์อย่างมาก เช่นเลขฐานสิบมีตัวเลขที่เป็นสถานะที่ต่างกันถึง 10 ตัว ในขณะที่ระบบไฟฟ้ามีเพียงสถานะ ซึ่งในช่วงเวลาหนึ่งๆมีเพียงสถานะเดียวเท่านั้น
แต่ละหลักของเลขฐานสอง เรียกว่า 
Binary Digit (BIT)



        2.)ในการทำงานของระบบคอมพิวเตอร์นั้น ระบบเลขฐานสิบเป็นระบบที่ยุ่งยาก ระบบที่ง่ายที่สุดคือระบบเลขฐานสอง เพราะวงจรไฟฟ้ามีสองสถานะเท่านั้น คือ วงจรเปิด (มีกระแสไหล) กับวงจรเปิด (ไม่มีกระแลไหล) เราอาจแทนสถานะทั้งสองด้วยตัวเลข 2 ตัว คือ 0 กับ 1 ระบบนี้เราเรียกว่า ระบบเลขฐานสอง เพราะมีตัวเลข 2 ตัว



สรุป
           ในการทำงานของระบบคอมพิวเตอร์นั้น ระบบเลขฐานสองเป็นระบบที่ง่ายที่สุด เพราะมีตัวเลขแค่2ตัวคือ 0และ1 สามารถใช้กับสถานะไฟฟ้าได้ง่ายเพราะมีแค่2สถานะคือ วงจรปิด กับวงจรเปิด
 เป็นคำสั่งที่เข้าใจง่ายและไม่ยุ่งยากซับซ้อนจนเกินไป 
        


อ้างอิง...............http://damdee-anc.blogspot.com/p/blog-page_5425.html
                           http://armzaclub-anc-armza.blogspot.com/p/blog-page_21.html

วันอาทิตย์ที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

การหาค่ามากที่สุดของจำนวนสามจำนวน

การหาค่ามากที่สุดของจำนวนสามจำนวน
การถ่ายทอดความคิดเป็นรหัสจำลอง
เริ่มต้น
        1. กำหนดค่าจำนวนแรก
        2.กำหนดค่าจำนวนที่สอง
        3.กำหนดค่าจำนวนที่สาม
        4.ถ้า จำนวนแรก > จำนวนที่สอง  ทำ
               4.1 กำหนดค่าจำนวนที่มากที่สุดให้เท่ากับจำนวนแรก
           มิฉะนั้น
               4.2 กำหนดค่าจำนวนที่มากที่สุดให้เท่ากับจำนวนที่สอง
        5.ถ้า จำนวนที่สาม > จำนวนที่มากที่สุด ทำ
               5.1 กำหนดค่าจำนวนที่มากที่สุดให้เท่ากับจำนวนที่สาม
        6.แสดงผลลัพธ์จำนวนที่มากที่สุด
จบ  

วันเสาร์ที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

องค์ประกอบของการสื่อสารข้อมูลทางคอมพิวเตอร์

องค์ประกอบของการสื่อสารข้อมูลทางคอมพิวเตอร์


1.     ผู้ส่ง  เป็นสิ่งที่ทำหน้าที่ส่งข้อมูลข่าวสารออกไปยังจุดหมายปลายทางที่ต้องการ  ซึ่งอาจเป็น
บุคคลหรืออุปกรณ์  เช่น  เครื่องคอมพิวเตอร์  โทรศัพท์  เป็นต้น
          2.  ข้อมูลข่าวสาร  เป็นสิ่งที่ผู้ส่งต้องการส่งไปให้ผู้รับที่อยู่ปลายทางซึ่งอาจเป็นเสียง  ข้อความหรือภาพ  เพื่อสื่อสารให้เกิดความเข้าใจตรงกัน
          3.  สื่อกลาง  หรือช่องทางการสื่อสาร  เป็นสิ่งที่ช่วยให้ข้อมูลข่าวสารเดินทางจากผู้ส่งไปยังผู้รับได้โดยสะดวก  ซึ่งมีหลายรูปแบบ  ดังนี้
                   *  สายสัญญาณชนิดต่างๆ  เช่น  สายโทรศัพท์  สายเคเบิล  เส้นใยแก้วนำแสง  เป็นต้น
                   *  คลื่นสัญญาณชนิดต่างๆ  เช่น  คลื่นวิทยุ  คลื่นไมโครเวฟ  คลื่นแสง  คลื่นอินฟราเรด
                   *  อุปกรณ์เสริมชนิดต่างๆ  เช่น  เสาอากาศวิทยุ  เสาอากาศโทรศัพท์  ดาวเทียม  โมเด็ม
          4.  ผู้รับ  เป็นสิ่งที่ทำหน้าที่รับข้อมูลข่าวสารจากผู้ส่ง  ซึ่งส่งผ่านสื่อกลางชนิดต่างๆ  เช่น  เครื่องคอมพิวเตอร์  โทรศัพท์  โทรทัศน์  วิทยุ  เป็นต้น
การที่จะส่งข้อมูลข่าวสารจากผู้ส่งไปยังผู้รับได้อย่างมีประสิทธิภาพนั้น  จะขาดส่วนประกอบใดส่วนประกอบหนึ่งที่กล่าวมาแล้วไม่ได้  และต้องรู้จักเลือกใช้อุปกรณ์และวิธีการให้เหมาะสมกับลักษณะงาน 
5. โปรโตคอล (Protocolเป็นข้อกำหนดหรือข้อตกลงถึงกฎระเบียบและวิธีการที่ใช้ในการสื่อสารเพื่อให้ผู้ส่งและผู้รับมีความเข้าใจตรงกัน





สรุป....ในการทำให้การสื่อสารข้อมูลมีประสิทธิภาพและดี ต้องอาศัยองค์ประกอบของการสือ่สารข้อมูลที่ีความครบถ้วนได้แก่ 1 ผู้ส่ง 2 ข้อมูลข่าวสาร 3 สื่อกลาง 4 ผู้รับ 5 โปรโตคอล
 วันที่ 4/02/2017 เวลา 23:20