Flashy Stars
html video backgroundHtml Codes

วันพุธที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2560

คุณธรรมและจริยธรรมในการใช้อินเทอร์เน็ต



คุณธรรมและจริยธรรมในการใช้งานอินเตอร์เน็ต




 จริยธรรม (Ethics) ในการใช้งานอินเทอร์เน็ต
       คือ หลักศีลธรรมจรรยาที่กําหนดขึ้น เพื่อใช้เป็นเเนวปฏิบัติหรือควบคุมการใช้งานอินเทอร์เน็ต ซึ่งเป็นหลักเกณฑ์ที่ประชาชนใช้ในการตัดสินใจเพื่อกระทําในสิ่งที่ถูกต้องเเละหลีกเลี่ยงการกระทําความผิดต่อผู้อื่น ผู้ใช้ควรระมัดระวังเเละปฏิบัติตามคําแนะนําในด้านต่างๆ ดังต่อไปนี้ 
      


        
       1.ด้านมารยาท ผู้ใช้งานนั้นควรระลึกเสมอว่าผู้ใช้อินเทอร์เน็ตเป็นมนุษย์มีความรู้สึกต่างๆเหมือกับตน ผู้ใช้จึงควรยึดถือมารยาทในการปฏิบัติในการดําเนินชีวิต เช่น
      
      - ควรศึกษาเเละปฏิบัติตามกฎ กติกา มารยาทในการใช้เว็บต่างๆ ตามที่ผุ้ให้บริการกําหนดไว้
      - ควรคํานึงถึงคุณภาพของข้อมูลที่จะอัปโหลดไปไว้บนอินเทอร์เน็ตว่ามีประโยชน์หรือไม่ อย่างไร          
      - ควรใช้อินเทอร์เน็ตให้เกิดประโยชน์มากกว่าการทําให้เกิดความเสียหายต่อตนเองเเละผู้อื่น
      - ควรใช้อินเตอร์เน็ตอย่างคุ้มค่าเเละประหยัดเวลา
      - ควรมีความรู้ในเรื่องที่เเสดงความคิดเห็นเเละเเสดงความคิดเห็นอย่างเป็นกลาง
      - ไม่ควรเเอบอ้างหรือนําข้อมูลของผู้อื่นมาใช้ก่อนได้รับอนุญาติ และหากนําข้อมูลของผู้อื่นมาก็ควรมีอ้างอิงหรือระบุข้ออย่างชัดเจน
      - ไม่โกหก ไม่หลอกลวง ไม่หวังผลกําไร และไม่ใส่ร้ายผู้อื่่น
      - ไม่ส่งเสริมการกระทําความผิดใดๆบนอินเทอร์เน็ต
      - ไม่ส่งเสริมให้เกิดความเเตกเเยกหรือทะเลาะกันบนอินเทอร์เน็ต
      - ไม่ใช้อินเทอร์เน็ตเป็นช่องทางในการทดลองความรู้ในทางที่ผิด
      - ไม่นําเรื่องของผู้อื่นมาเป็นหัวข้อในการสนทนาทางอินเทอร์เน็ต
      - ไม่สร้างความเดือดร้อนหรือความรำคาญให้เเก่ผู้อื่น เช่น การโฆษณา






     
       2.ด้านภาษา ภาษาทางอินเทอร์เน็ตเเบ่งเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ ภาษาเเรก คือ ภาษาท้องถิ่น ภาษาที่ สอง คือ ภาษาอังกฤษ ตัวอย่างหลักการใช้ภาษาในอินเทอร์เน็ตเช่น 
       - พิมพ์ภาษาให้ถูกต้องทั้งในด้านตัวสะกดเเละรูปแบบ
       - ใช้ภาษาที่สุภาพเเละใช้ให้ถูกต้องตามกาละเทศะ
       - ไม่ใช้ภาษาที่ก่อให้เกิดความเข้าใจผิดในการสื่อความหมาย หรือความหมายกํากวมไม่หมาะสม
       - ควรเลือกใช้ภาษาที่สั้น ชัดเจน เเละกะทัดรัด
       - ก่อนการส่งข้อมูลผู้ใช้ควรอ่านทบทวนข้อมูลหรือข้อความที่ต้องการส่งก่อนที่จะส่งข้อมูลนั้น




     
         3.ด้านความปลอดภัย เนื่องจากอินเทอร์เน็ตเป็นเครือข่ายขนาดใหญ่ที่มีผู้ใช้หลากหลาย ส่งผลให้อินเทอร์เน็ตเป็นช่องทางในการก่ออาชญากรรมหรือการกระทําผิดกฎหมายต่างๆ ตัวอย่างการใช้งานอินเทอร์เน็ตเพื่อให้เกิดความปลอดภัย เช่น
        
        - ควรระลึกไว้เสมอว่าไม่มีความลับในอินเทอร์เน็ต ข้อมูลทุกอย่างมีการเชื่อมต่อผ่านเครื่อข่ายคอมพิวเตอร์ไปไม่มีที่สิ้นสุด
        - ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตทุกคนสามารถแสดงข้อมูลใดๆก็ได้ ดังนั้นข้อมูลที่เเสดงอาจไม่ใช้ข้อมูลจริง
        - ควรตรวจสอบเว็บไซต์หรือไฟล์ข้อมูลก่อนอัปโหลดเเละดาวน์โหลด ข้อมูลนั้นทุกครั้งก่อนใช้งาน เพื่อป้องกันไวรัสเข้าคอมพิวเตอร์
        - ไม่เปิดเผยข้อมูลส่วนตัวของตนเองหรือผู้อื่น เช่น หมายเลขบัตรประชาชน
        - ไม่หลงเชื่อข้อความหรือข้อมูลของผู้อื่นที่ไม่มีเเหล่งข้อมูลที่ชัดเจน
        - ไม่เปิดหรือดาวน์โหลดเว็บไซต์ที่ส่งมาจากเเหล่งข้อมูลที่ไม่น่าเชื่อถือ


สรุป.....
     จริยธรรม (Ethics) ในการใช้งานอินเทอร์เน็ตคือ หลักศีลธรรมจรรยาที่กําหนดขึ้น เพื่อใช้เป็นเเนวปฏิบัติหรือควบคุมการใช้งานอินเทอร์เน็ต

1.ด้านมารยาท ผู้ใช้งานนั้นควรระลึกเสมอว่าผู้ใช้อินเทอร์เน็ตเป็นมนุษย์มีความรู้สึกต่างๆเหมือกับตน ผู้ใช้จึงควรยึดถือมารยาทในการปฏิบัติในการดําเนินชีวิต

2.ด้านภาษา ภาษาทางอินเทอร์เน็ตเเบ่งเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ ภาษาเเรก คือ ภาษาท้องถิ่น ภาษาที่ สอง คือ ภาษาอังกฤษ ตังอย่างหลักการใช้ภาษาในอินเทอร์เน็ต

3.ด้านความปลอดภัย เนื่องจากอินเทอร์เน็ตเป็นเครือข่าขนาดใหญ่ที่มีผู้ใช้หลากหลาย ส่งผลให้อินเทอร์เน็ตเป็นช่องทางในการก่ออาชญากรรมหรือการกระทําผิดกฎหมายต่างๆ


 ลงวันที่ 4/1/2017 เวลา 15.55 น.
























วันอังคารที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2560

การสื่อสารข้อมูลทางคอมพิวเตอร์

การสื่อสารข้อมูลทางคอมพิวเตอร์


การสื่อสารข้อมูลทางคอมพิวเตอร์
  หมายถึงการโอนถ่าย(Transmission) ข้อมูลหรือการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างผู้ส่งต้นทางกับผู้รับปลายทาง ทั้งข้อมูลประเภท ข้อความ รูปภาพ เสียง หรือข้อมูลสื่อผสมโดยผู้ส่งต้นทางส่งข้อมูลผ่านอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์หรือคอมพิวเตอร์ ซึ่งมีหน้าที่แปลงข้อมูลเหล่านั้นให้อยู่ในรูปสัญญาณทางไฟฟ้า (Electronic data) จากนั้นถึงส่งไปยังอุปกรณ์หรือคอมพิวเตอร์ปลายทาง






ชนิดของการสื่อสาร
                การสื่อสารข้อมูลระหว่างผู้รับกับผู้ส่งสามารถแบ่งได้เป็น ประเภท
1. การสื่อสารข้อมูลทิศทางเดียว (Simplex Transmission) เป็นการติดต่อสื่อสารเพียงทิศทางเดียว คือผู้ส่งจะส่งข้อมูลเพียงฝั่งเดียวและโดยฝั่งรับไม่มีการตอบกลับ เช่น การกระจายเสียงของสถานีวิทยุ การส่ง e-mail เป็นต้น


2. การสื่อสารข้อมูลสองทิศทางสลับกัน (Half Duplex Transmission)
สามารถส่งข้อมูลในเวลาใดเวลาหนึ่ง ไปในทิศทางเดียวเท่านั้น ทั้งฝ่ายส่งและฝ่ายรับ หรือพูดอีกนัยหนึ่งคือ ผู้ส่งสามารถส่งข้อมูลไปให้แก่ผู้รับ ส่วนผู้รับก็สามารถโต้ตอบกลับได้ แต่ไม่สามารถส่งสวนทางกันได้ในเวลาเดียวกัน  เช่นการส่งวิทยุของตำรวจ



 3. การสื่อสารข้อมูลสองทิศทางพร้อมกัน (Full DuplexTransmission)
สามารถส่งข้อมูลในเวลาใดเวลาหนึ่ง ได้ทั้ง2ทิศทาง ทั้งฝ่ายส่งและฝ่ายรับ หรือพูดอีกนัยหนึ่งคือ ผู้ส่งและผู้รับ สามารถโต้ตอบสวนทางกันได้ในเวลาเดียวกัน เช่น การส่งสัญญาณโทรศัพท์  สนทนา msn , feaebook



สรุป...
การสื่อสารข้อมูลทางคอมพิวเตอร์การโอนถ่าย ข้อมูลหรือการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างผู้ส่งต้นทางกับผู้รับปลายทาง แบ่งได้เป็น ประเภท
1. การสื่อสารข้อมูลทิศทางเดียว เป็นการติดต่อสื่อสารเพียงทิศทางเดียว คือผู้ส่งจะส่งข้อมูลเพียงฝั่งเดียวและโดยฝั่งรับไม่มีการตอบกลับ
2. การสื่อสารข้อมูลสองทิศทางสลับกัน
ผู้ส่งสามารถส่งข้อมูลไปให้แก่ผู้รับ ส่วนผู้รับก็สามารถโต้ตอบกลับได้ แต่ไม่สามารถส่งสวนทางกันได้ในเวลาเดียวกัน
3. การสื่อสารข้อมูลสองทิศทางพร้อมกัน  ผู้ส่งและผู้รับ สามารถโต้ตอบสวนทางกันได้ในเวลาเดียวกัน



ลงวันที่ 3/1/2017 เวลา 05.51 น.





เครือข่ายคอมพิวเตอร์

เครือข่ายคอมพิวเตอร์



เครือข่ายคอมพิวเตอร์ (computer network) เป็นการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่อพ่วงเข้าด้วยกัน เพื่อให้สามารถใช้ข้อมูลร่วมกันได้ เครือข่ายคอมพิวเตอร์แบ่งออกตามการเชื่อมโยงได้เป็น 4 ชนิด ดังนี้

2.1  เครือข่ายส่วนบุคคล หรือ แพน (Personal Area Network : PAN) เป็นเครือข่ายที่ใช่ส่วนบุคคล ซึ่งเป็นการเชื่อมต่อแบบไร้สายในระยะใกล้ เช่น เช่น Bluetooth ตัวอย่าง เช่น การแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่าง PDA กับ Desktop โดยมีระยะทางไม่เกิน 1เมตร และมีอัตราการรับส่งข้อมูลความเร็วสูงมาก (สูงถึง 480 Mbps)การเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์กับโทรศัพท์มือถือ การเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์กับเครื่องพีดีเอ เป็นต้น

          PDA ย่อมาจาก Personal Digital Assistant หมายถึง คอมพิวเตอร์แบบพกพาขนาดเล็กเท่าฝ่ามือ มีโปรแกรมพื้นฐาน เช่น Spread Sheet ต่างๆ ช่วยจดบันทึก และการนัดหมายต่างๆ   (Palm)
เกิน 1เมตร และมีอัตราการรับส่งข้อมูลความเร็วสูงมาก (สูงถึง 480 Mbps)




2.2  เครือข่ายเฉพาะที่ หรือ (Local Area Network : LAN) เป็นเครือข่ายขนาดเล็กซึ่งเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์สื่อสารที่อยู่ในท้องที่บริเวณเดียวกันเข้าด้วยกัน เช่น ภายในอาคาร หรือภายในอง๕การที่มีระยะทางไม่ไกลมากนัก เป็นต้น โดยคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องจะต่อเข้ากับอุปกรณ์เครือข่าย เช่น ฮับ สวิตช์ เป็นต้น ซึ่งอุปกรณ์เครือข่ายแต่ละตัวจะเชื่อมต่อกันโดยใช้สายตีเกลียวคู่ สายใยแก้วนำแสงหรือคลื่นวิทยุ และเครือข่ายแลนจะเชื่อมต่อถึงกันด้วยอุปกรณ์จัดเส้นทาง (router) การสร้างเครือข่ายแลนนี้แต่ละองค์กร สามารถดำเนินการเองได้ โดยการวางสายสัญญาณสื่อสารภายในอาคารหรือภายในพื้นที่ของตนเอง เครือข่ายแลนมีตั้งแต่เครือข่ายขนาดเล็กที่เชื่อมโยงคอมพิวเตอร์ตั้งแต่สองเครื่องขึ้นไปภายในห้องเดียวกัน จนถึงเชื่อมโยงระหว่างห้องหรือองค์กรขนาดใหญ่ เช่น ภายในสำนักงาน ภายในโรงเรียนหรือมหาวิทยาลัย เป็นต้น ทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์หลายๆ เครื่องที่เชื่อมต่อกัน สามารถส่งข้อมูลแลกเปลี่ยนกันได้อย่างสะดวก รวดเร็ว และยังสามารถใช้ทรัพยากรร่วมกันได้อีกด้วย


2.3 เครือข่ายนครหลวง หรือแมน (Metropolitan Area Network : MAN) เป็นเครือข่ายที่เชื่อมโยง
แลนที่อยู่ห่างกัน เช่น ระหว่างสำนักงานที่อยู่คนละอาหาร ระบบเคเบิลทีวีตามบ้านในปัจจุบัน เป็นต้น โดยมีลักษณะการเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์ที่มีระห่างไกลกันในช่วง 5-40 กิโลเมตร ผ่านสายสื่อสารประเภทสายใยแก้วนำแสงสายโคแอกเชียล หรืออาจใช้คลื่นไมโครเวฟ




2.4  เครือข่ายวงกว้าง หรือแวน (Wide Area Network : WAN) เป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่
ที่เชื่อมโยงระบบคอมพิวเตอร์ในระยะห่างไกล มีการติดต่อสื่อสารกันในบริเวณกว้าง เช่น เชื่อมโยงระหว่างจังหวัด ระหว่างประเทศ เป็นต้น

สรุป...
เครือข่ายคอมพิวเตอร์ (computer network) เป็นการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่อพ่วงเข้าด้วยกัน เพื่อให้สามารถใช้ข้อมูลร่วมกันได้ เครือข่ายคอมพิวเตอร์แบ่งออกตามการเชื่อมโยงได้เป็น 4 ชนิด 
1.เครือข่ายส่วนบุคคล หรือ แพน (Personal Area Network : PAN) เป็นเครือข่ายที่ใช่ส่วนบุคคล ซึ่งเป็นการเชื่อมต่อแบบไร้สายในระยะใกล้
 2.เครือข่ายเฉพาะที่ หรือ (Local Area Network : LAN) เป็นเครือข่ายขนาดเล็กซึ่งเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์สื่อสารที่อยู่ในท้องที่บริเวณเดียวกันเข้าด้วยกัน
 3. เครือข่ายนครหลวง หรือแมน (Metropolitan Area Network : MAN) เป็นเครือข่ายที่เชื่อมโยงแลนที่อยู่ห่างกัน 
4.เครือข่ายวงกว้าง หรือแวน (Wide Area Network : WAN) เป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่
ที่เชื่อมโยงระบบคอมพิวเตอร์ในระยะห่างไกล มีการติดต่อสื่อสารกันในบริเวณกว้าง


ลงวันที่ 3/1/2017 เวลา 23.47 น.








วิวัฒนาการของอินเทอร์เน็ต

วิวัฒนาการของอินเทอร์เน็ต


ความหมายของอินเตอร์เน็ต
อินเทอร์เน็ต (Internet) หมายถึง เครือข่ายคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ ที่มีการเชื่อมต่อระหว่างเครือข่ายหลายๆ เครือข่ายทั่วโลก โดยใช้ภาษาที่ใช้สื่อสารกันระหว่างคอมพิวเตอร์ที่เรียกว่า โพรโทคอล (Protocol) ผู้ใช้เครือข่ายนี้สามารถสื่อสารถึงกันได้ในหลายๆ ทาง อาทิเช่น อีเมล เว็บบอร์ด และสามารถสืบค้นข้อมูลและข่าวสารต่างๆรวมทั้งคัดลอกแฟ้มข้อมูลและโปรแกรมมาใช้ได้
วิวัฒนาการของอินเทอร์เน็ต
อินเทอร์เน็ตในปัจจุบันถูกพัฒนามาจากโครงการวิจัยทางการทหารของกระทรวงกลาโหมของประเทศ สหรัฐอเมริกา คือ Advanced Research Projects Agency (ARPA) 

ในปี พ.ศ. 2512 ARPA Net ซึ่งเป็น ได้มีการพัฒนาเพิ่มมากขึ้นโดยการเชื่อมโยงเครือข่ายร่วมกับมหาวิทยาลัยชั้นนำของอเมริกา คือ มหาวิทยาลัยยูทาห์ มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนียที่ซานตาบาบารามหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนียที่ลอสแองเจลิส และสถาบันวิจัยของมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด 
ในปี พ.ศ.๒๕๒๕ มีการพัฒนามาตรฐานในการรับและส่งข้อมูล โดยใช้โพรทคอลทีซีพี/ไอพี (TCP/Transmission Control Protocol/Internet Protocol)
ในปีพ.ศ.๒๕๒๘มูลนิธิวิทยาศาสตร์แห่งชาติสหรัฐอเมริกา NSF:National Science Foundation)ได้ให้เงินทุนสร้างซูเปอร์คอมพิวเตอร์ 6 แห่ง ใช้ชื่อว่า NSFNET
ในปี พ.ศ.2529 มูลนิธิวิทยาศาสตร์แห่งชาติสหรัฐอเมริกาพัฒนาเครือข่ายคอมพิวเตอร์เพื่องานด้านการศึกษาและการค้นคว้าทางวิทยาศาสตร์

สำหรับในประเทศไทยอินเทอร์เน็ตเริ่มมีการใช้ครั้งแรกในปีพ.ศ2530ที่มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ และสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชียAIT ติดต่อสื่อสารทางอีเมลกับมหาวิทยาลัยเมลเบิร์นในออสเตรเลีย ได้มีการติดตั้งระบบอีเมล์ขึ้นครั้งแรก โดยผ่านระบบโทรศัพท์ ความเร็วของโมเด็มที่ใช้ในขณะนั้นมีความเร็ว 2,400 บิต/วินาที จนกระทั่งวันที่ มิถุนายน พ.ศ. 2531 ได้มีการส่งอีเมลฉบับแรกที่ติดต่อระหว่างประเทศไทยกับมหาวิทยาลัยเมลเบิร์น มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์จึงเปรียบเสมือนประตูทางผ่าน (Gateway) ของไทยที่เชื่อมต่อไปยังออสเตรเลียในขณะนั้น

ในปี พ.ศ. 2533 อาร์พาเน็ตยุติลงศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC)  ได้เชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ของสถาบันการศึกษาของรัฐ โดยมีชื่อว่า เครือข่ายไทยสาร (Thai Social/Scientific Academic and Research Network : ThaiSARN) ประกอบด้วย 
มหาวิยาลัยสงขลานครินทร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย (AIT)  มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เพื่อให้บริการอินเทอร์เน็ตภายในประเทศ เพื่อการศึกษาและวิจัย

ในปี พ.ศ.2535 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้จัดตั้งเครือข่ายเพื่อเชื่อมโยงเข้ากับเครือข่ายUUNETของสหรัฐอเมริกา โดยสถาบันการศึกษาหลายแห่งในประเทศไทยได้ขอเชื่อมเครือข่ายจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เรียกเครือข่ายนี้ว่า เครือข่ายไทยเน็ต ประกอบไปด้วย4สถาบัน ได้แก่ สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย (AIT) มหาวิทยาลัยมหิดล สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า วิทยาเขตเจ้าคุณทหารลาดกระบัง มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และมหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ

ในปี พ.ศ.๒๕๓๗ ความต้องการในการใช้อินเทอร์เน็ตจากภาคเอกชนมีมากขึ้น การสื่อสารแห่งประเทศไทย กสท.จึงได้ร่วมมือกับบริษัทเอกชนเปิดบริการอินเทอร์เน็ตให้แก่ผู้สนใจสมัครเป็นสมาชิก ตั้งขึ้นในรูปแบบบริษัทผู้ให้บริการเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเชิงพาณิชย์ที่เรียกกันโดยทั่วไปว่า ผู้ให้บริการเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเชิงพานิชณ์ หรือ ISP ( Internet Service Provider)

         
     ในปี พ.ศ. 2538 ได้มีการบริการอินเทอร์เน็ตเชิงพาณิชย์ขึ้น เพื่อให้บริการแก่ประชาชน และภาคเอกชนต่างๆ ที่ต้องการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต โดยมีบริษัทอินเทอร์เน็ตไทยแลนด์ (InternetThailand) เป็นผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต (Internet Service Provider: ISP) เป็นบริษัทแรก เมื่อมีคนนิยมใช้อินเทอร์เน็ตเพิ่มมากขึ้น บริษัทที่ให้บริการอินเทอร์เน็ตจึงได้ก่อตั้งเพิ่มขึ้นอีกมากมาย



สรุป......
  อินเทอร์เน็ต หมายถึง เครือข่ายคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ ที่มีการเชื่อมต่อระหว่างเครือข่ายหลายๆเครือข่ายทั่วโลก โดยใช้ภาษาที่ใช้สื่อสารกันระหว่างคอมพิวเตอร์ที่เรียกว่า โพรโทคอล วิวัฒนาการของอินเทอร์เน็ต เริ่มจาก ปี พ.ศ.2512 จากการพัฒนาของโครงการอาร์พาเน็ต มี4สถาบันที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ มหาวิทยาลัยยูทาห์ มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนียที่ซานตาบาบารามหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนียที่ลอสแองเจลิส และสถาบันวิจัยของมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด พ.ศ.๒๕๒๕ มีการพัฒนามาตรฐานในการรับส่งข้อมูล โดยใช้TCP/IP พ.ศ.2528 มูลนิธิวิยาศาสตร์แห่งชาติสหรัฐอเมริกา ให้เงินทุนสร้างซูเปอร์คอมพิวเตอร์6แห่งใช้ชื่อว่าNSFNET พ.ศ.2529มูลนิธิวิทยาศาสตร์แห่งชาติสหรัฐอเมริกา พัฒนาเครือข่่ายคอมพิวเตอร์เพื่อใช้งานด้านการศึกษาและการค้นคว้าทางวิทยาศาสตร์ พ.ศ.2530
การนำอินเทอร์เน็ตมาใช้ครั้งแรกในประเทศไทยที่มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ และสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชียAIT ติดต่อสื่อสารทางอีเมลกับมหาวิทยาลัยเมลเบิร์นในออสเตรเลียใน
พ.ศ. 2533 อาร์พาเน็ตยุติลงศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC)  ได้เชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ของสถาบันการศึกษาของรัฐ โดยมีชื่อว่า เครือข่ายไทยสาร พ.ศ.2535 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้จัดตั้งเครือข่ายเพื่อเชื่อมโยงเข้ากับเครือข่ายUUNETของสหรัฐอเมริกา โดยสถาบันการศึกษาหลายแห่งในประเทศไทยได้ขอเชื่อมเครือข่ายจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เรียกเครือข่ายนี้ว่า เครือข่ายไทยเน็ต 
พ.ศ.๒๕๓๗การสื่อสารแห่งประเทศไทยกสท.ร่วมมือกับบริษัทเอกชนเปิดบริการอินเทอร์เน็ตให้แก่ผู้สนใจสมัครเป็นสมาชิก ตั้งขึ้นในรูปแบบบริษัทผู้ให้บริการเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเชิงพาณิชย์ในปี พ.ศ. 2538 ได้มีการบริการอินเทอร์เน็ตเชิงพาณิชย์ขึ้น เพื่อให้บริการแก่ประชาชน และภาคเอกชนต่างๆ ที่ต้องการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต โดยมีบริษัทอินเทอร์เน็ตไทยแลนด์ (InternetThailand) เป็นผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต (Internet Service Provider: ISP) เป็นบริษัทแรก
ขอขอบคุณ....https://www.youtube.com/watch?v=n_7W4eCtKOg


ลงวันที่ 11/1/2017 เวลา 23.17น.